1. รางวัลพระราชทาน “บันเทิงเทิดธรรม” 1 รางวัล

รางวัลพระราชทานในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อยกย่องบุคคลในวงการบันเทิงที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรม มีความสามารถ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในสังคมอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10 ปี เหมาะสมที่จะเป็นแบบอย่างสำหรับบุคคลทั่วไป และเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่ประพฤติดีทั้งหลาย

1. รางวัลพระราชทาน “บันเทิงเทิดธรรม” 1 รางวัล

รางวัลพระราชทานในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อยกย่องบุคคลในวงการบันเทิงที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรม มีความสามารถ และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในสังคมอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 10 ปี เหมาะสมที่จะเป็นแบบอย่างสำหรับบุคคลทั่วไป และเพื่อเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่ประพฤติดีทั้งหลาย

2. รางวัลยอดเยี่ยมแห่งปี จำนวน 11 รางวัล ได้แก่
2.1 – 2.2 นักแสดงแห่งปี (ชายและหญิง ตามเพศสภาพ)

พิจารณารางวัลทั้งผู้ที่มีผลงานด้านละคร/ซีรีส์ ภาพยนตร์ และละครเวที โดยไม่จำกัด ว่าเป็นนักแสดงนำหรือนักแสดงสมทบ แต่ผลงานนั้น ๆ ต้องออกอากาศ หรือเผยแพร่ครั้งแรก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ปีก่อนหน้าปีที่จัดงานฯ

2.3 ภาพยนตร์แห่งปี

ภาพยนตร์ที่ได้รับการพิจารณารางวัลต้องเป็นเรื่องที่เข้าฉาย/เผยแพร่ครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ปีก่อนหน้าปีที่จัดงานฯ มีผู้กำกับภาพยนตร์เป็นคนไทย นักแสดงนำเป็นคนไทย และดำเนินเรื่องด้วยภาษาไทย ทั้งนี้ อนุโลมสำหรับภาพยนตร์ไทยที่ร่วมทุนกับต่างประเทศ

2. รางวัลยอดเยี่ยมแห่งปี จำนวน 11 รางวัล ได้แก่
2.1 – 2.2 นักแสดงแห่งปี (ชายและหญิง ตามเพศสภาพ)

พิจารณารางวัลทั้งผู้ที่มีผลงานด้านละคร/ซีรีส์ ภาพยนตร์ และละครเวที โดยไม่จำกัด ว่าเป็นนักแสดงนำหรือนักแสดงสมทบ แต่ผลงานนั้น ๆ ต้องออกอากาศ หรือเผยแพร่ครั้งแรก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ปีก่อนหน้าปีที่จัดงานฯ

2.3 ภาพยนตร์แห่งปี

ภาพยนตร์ที่ได้รับการพิจารณารางวัลต้องเป็นเรื่องที่เข้าฉาย/เผยแพร่ครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ปีก่อนหน้าปีที่จัดงานฯ มีผู้กำกับภาพยนตร์เป็นคนไทย นักแสดงนำเป็นคนไทย และดำเนินเรื่องด้วยภาษาไทย ทั้งนี้ อนุโลมสำหรับภาพยนตร์ไทยที่ร่วมทุนกับต่างประเทศ

2.4 ละคร/ซีรีส์แห่งปี

พิจารณาเฉพาะละคร/ซีรีส์ที่เริ่มต้นออกอากาศครั้งแรก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ปีก่อนหน้าปีที่จัดงานฯ (ถ้าออกอากาศข้ามปี ต้องมีระยะเวลาการออกอากาศในปีดังกล่าวมากกว่า) กระบวนการผลิตมีคุณภาพ เนื้อหาต้องสร้างสรรค์สังคม ให้ความบันเทิแและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม

2.5 – 2.6 ศิลปินแห่งปี (เดี่ยว และ กลุ่ม)

ศิลปินที่มีสิทธิ์เข้ารับการพิจารณารางวัลผลงานต้องมีผลงานวางจำหน่าย แสดง หรือ เผยแพร่ครั้งแรกระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ปีก่อนหน้าปีที่จัดงานฯ โดยพิจารณาทั้งผลงานเดี่ยว ผลงานกลุ่ม หรือศิลปินรับเชิญในอัลบั้มพิเศษ รวมถึงผลงานประเภทคอนเสิร์ต ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงปีที่ผ่านมา

2.7 เพลงแห่งปี

พิจารณาจากเพลงที่เผยแพร่และวางจำหน่ายครั้งแรก ระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 31 ธันวาคม ปีก่อนหน้าปีที่จัดงานฯ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื้อหาไม่ขัดต่อหลักศีลธรรม และมีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพ

2.8 พิธีกรแห่งปี

พิจารณาจากบุคคลที่ทำหน้าที่พิธีกร หรือ ดำเนินรายการประเภทบันเทิง โดยยกเว้นผู้ ประกาศข่าว ผู้รายงานข่าว และผลงานของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลต้องเผยแพร่ในปีก่อนหน้าปีที่จัดงานฯ

2.9 บุคคลเบื้องหลังแห่งปี

พิจารณาบุคคลทั้งชายและหญิงที่ทำงานเบื้องหลังซึ่งมีบทบาทหน้าที่หรือเป็นส่วนสำคัญ ในการสนับสนุนให้เกิดบุคลากรและผลงานบันเทิงที่สร้างสรรค์ มีคุณภาพ โดยเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องมีส่วนผลักดันให้เกิดพัฒนาการในแวดวงบันเทิง

2.10 ทีมสร้างสรรค์แห่งปี

พิจารณารางวัลสำหรับคณะบุคคล หรือทีมงาน ที่ทำงานเบื้องหลังการผลิตผลงานคุณภาพ ทุกประเภทในวงการบันเทิง ทั้งเบื้องหลังภาพยนตร์, เบื้องหลังละคร, เบื้องหลังแฟชั่น, เบื้องหลังคอนเสิร์ต, เบื้องหลังรายการ, เบื้องหลังหนังสือ, เบื้องหลังบุคคล ฯลฯ ที่มีผลงานในช่วงปีที่ผ่านมา

2.11 ครอบครัวแห่งปี

พิจารณาจากครอบครัวที่มีสมาชิกอย่างน้อย 1 คน ทำงานเบื้องหน้า/เบื้องหลังวงการ บันเทิง ที่สร้างสรรค์ผลงานคุณภาพ สมาชิกในครอบครัวส่งเสริมการทำงานกันและกันเป็นอย่างดี ที่สำคัญต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดเจนว่าเป็นครอบครัวที่อบอุ่น สมาชิกรักใคร่กลมเกลียว ไม่มีปัญหาขัดแย้งกันจนเป็นที่ครหา สมาชิกโดยเฉพาะหัวหน้าครอบครัวดำรงตนอย่างเหมาะสมในการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น

3. รางวัลขวัญใจมหาชน และ รางวัลคู่จิ้นแห่งปี จำนวน 2 รางวัล
แนวทางพิจารณารางวัลแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นตอนแรกให้ประชาชนทั่วไป ส่งรายชื่อคนบันเทิงที่ชื่นชอบ เข้ามาทางระบบ SMS และ 9entertainawards.mcot.net จากนั้นจะนำรายชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อมากที่สุดจำนวน 9 อันดับ เปิดให้ประชาชนโหวตผ่านระบบ SMS และ 9entertainawards.mcot.net อีกครั้ง ทั้งนี้ สำหรับรางวัลขวัญใจมหาชนจะมีการออกแบบสำรวจความนิยมโดยสำนักสำรวจความนิยมที่ได้รับความเชื่อถือ
3. รางวัลขวัญใจมหาชน และ รางวัลคู่จิ้นแห่งปี จำนวน 2 รางวัล
แนวทางพิจารณารางวัลแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน กล่าวคือ ขั้นตอนแรกให้ประชาชนทั่วไป ส่งรายชื่อคนบันเทิงที่ชื่นชอบ เข้ามาทางระบบ SMS และ 9entertainawards.mcot.net จากนั้นจะนำรายชื่อผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อมากที่สุดจำนวน 9 อันดับ เปิดให้ประชาชนโหวตผ่านระบบ SMS และ 9entertainawards.mcot.net อีกครั้ง ทั้งนี้ สำหรับรางวัลขวัญใจมหาชนจะมีการออกแบบสำรวจความนิยมโดยสำนักสำรวจความนิยมที่ได้รับความเชื่อถือ
โดยกิจกรรมทั้งหมดจะประชาสัมพันธ์ผ่านทุกสื่อของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือก 2 รางวัลนี้ เพื่อให้เป็นรางวัลแห่งมหาชนอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ เนื่องด้วยรางวัลไนน์เอ็นเตอร์เทน อวอร์ด ยึดมั่นในแนวคิด “หน้าม่านคุณภาพ หลังม่านคุณธรรม” ด้วยเจตนารมณ์ในการส่งเสริม สนับสนุนคนเก่งที่เป็นคนดี ทั้งหน้ากล้องและหลังกล้อง ทั้งคนเบื้องหน้าและคนเบื้องหลัง จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความประพฤติส่วนตัว การคัดเลือกบุคคลผู้เหมาะสมกับแต่ละรางวัลจึงพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนทุกมิติ ทั้งความสามารถในทางสร้างสรรค์ การพัฒนาตนเอง การมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นผู้มีความประพฤติดี มีคุณธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เหมาะสมแก่การเป็นบุคคลต้นแบบในสังคม พิจารณารางวัลโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาควิชาการ ภาควิชาชีพ ภาควัฒนธรรม ตลอดจน “คนวงใน” ผู้คลุกคลีสัมผัสกับบุคลากรในวงการบันเทิงอย่างใกล้ชิด เพื่อเลือกเฟ้นผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดภายใต้แนวคิด “หน้าม่านคุณภาพ หลังม่านคุณธรรม” อย่างแท้จริง

ประวัติ